วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำถามที่ 60: หลังจากรับฟังความคิดเห็นจากประชาคม ม.อ.ครบทั้ง 5 วิทยาเขตในรอบแรกแล้ว จะมีการดำเนินการในขั้นตอนต่อไปอย่างไร

หลังจากรับฟังความคิดเห็นจากประชาคม ม.อ.ครบทั้ง 5 วิทยาเขตในรอบแรกแล้ว จะมีการดำเนินการต่อตามกรอบเวลาและกิจกรรม ดังนี้

1. คณะกรรมการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ รวมทั้งคณะกรรมการยกร่าง พ.ร.บ. จะได้นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้ในการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.3 เป็นร่าง พ.ร.บ.4 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2556

2. เผยแพร่ร่างพ.ร.บ.4 ให้ประชาคมรับทราบอย่างกว้างขวางผ่านช่องทางต่าง ๆ

3. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาคมทั้ง 5 วิทยาเขต ต่อ ร่าง พ.ร.บ. 4 ในช่วงเดือนธันวาคม 2556 -มกราคม 2557

4. นำำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้ในการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.4 เป็นร่าง พ.ร.บ.5

5. นำร่าง พ.ร.บ.5 พิจารณากลั่นกรองในที่ประชุมคณบดีในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 และนำเสนอต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยในวันที่ 1 มีนาคม 2557

คำถามที่ 59: ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย จะใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลใน ระบบ “การจ่ายตรง” ต่อได้หรือไม่

ข้าราชการที่มีสิทธิรับบำนาญ เมื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และเลือกรับ
บำนาญจะใช้สิทธิจากข้าราชการบำนาญ จึงใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลใน ระบบ “การจ่ายตรง” ต่อได้

คำถามที่ 58: เมื่อสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้วจะมีสถานะเป็นอย่างไร มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมบ้าง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะมีสถานภาพดังนี้
1. เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
2. เป็นหน่วยงานที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
3. เป็นหน่วยงานของรัฐที่ยังคงได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินตามพระราชบัญญัติ วิธีการงบประมาณที่จำเป็นต่อการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ได้อย่างเพียงพอ
4. เป็นหน่วยงานที่มีความคล่องตัว โดยมีสภามหาวิทยาลัยรับผิดชอบควบคุม กำกับทิศทางการดำเนินงาน และกำหนดระเบียบข้อบังคับในการบริหารจัดการในภารกิจต่าง ๆ ได้เองภายใต้ พ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำถามที่ 57: มหาวิทยาลัยมีนโยบายเรื่องหน่วยงานสนับสนุนของมหาวิทยาลัย เช่น วิทยาลัยชุมชน อย่างไร

คงจะมีการปรับองค์กรใหม่เพื่อให้กระชับขึ้น ซึ่งรูปแบบกำลังมีการศึกษาอยู่ โดยจะมีองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ และจะมีการประเมินที่เข้มข้นขึ้น อาจจะมีการยุบหน่วยงานเก่าตั้งหน่วยงานใหม่ตามความจาเป็น แต่จะไม่มีการให้บุคลากรออกเพราะการยุบเลิกหน่วยงาน ซึ่งการปรับเปลี่ยนยกเลิกหน่วยงานตาม พ.ร.บ. ที่ใช้ปัจจุบันก็เปิดโอกาสให้ทำได้ แต่จะมีขั้นตอนกระบวนการมาก

ปัจจุบัน วิทยาลัยชุมชนเป็นหน่วยบริการวิชาการ และ กำลังมีการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยขึ้นที่วิทยาเขตหาดใหญ่ แต่ในการทางานร่วมกันก็จะใช้หน่วยงานที่มีอยู่แล้วในวิทยาเขตต่าง ๆ เป็นเครือข่าย ร่วมทำหน้าที่บริการวิชาการเชิงรุก

คำถามที่ 56: ได้มีการประเมินสภาพคล่องทางการเงินของแต่ละวิทยาเขตหรือไม่ ว่าอยู่ในระดับใด

ปัจจุบัน แม้อยู่ในระบบราชการก็มีการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินอยู่แล้ว เนื่องจากมีข้อจำกัดของงบประมาณที่ได้รับ ทำให้เราต้องศึกษาว่าแต่ละวิทยาเขต มีการใช้จ่ายเงินเป็นเช่นไร จะมีการประหยัดงบประมาณได้อย่างไร จะดูแลอย่างไร ในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็ได้มีการพูดคุยกันเรื่องการจัดองค์กรที่เหมาะสม สาหรับสถานการณ์ปัจจุบัน

คำถามที่ 55: ข้าราชการเมื่อปรับเปลี่ยนระบบแล้ว จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างไร

ข้าราชการหากไม่ปรับเปลี่ยนสถานะ ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ใหม่ ยังคงอยู่ในกติกาของราชการ มีการประเมินตามระเบียบราชการ จะไม่มีสัญญาจ้างเนื่องจากเป็นการอยู่ทางานจนเกษียณอายุ แต่ถ้าปรับเปลี่ยนจะเข้าสู่ระบบการประเมินของพนักงานมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันก็ได้สิทธิ์ของข้าราชการบำนาญด้วย

คำถามที่ 54: ข้าราชการที่ปรับเปลี่ยนสถานะจะใช้ระบบแท่งเงินเดือนของพนักงานใช่หรือไม่

ใช่ เมื่อมีการปรับเปลี่ยน ผู้ที่เป็นพนักงานอยู่แล้วจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ผู้ที่ปรับเปลี่ยนจากข้าราชการเป็นพนักงานจะต้องมาใช้ระบบการขึ้นเงินเดือนของพนักงาน อย่างไรก็ตาม ในช่วงการปรับเปลี่ยน จะมีการคูณเงินเดือนด้วย 1.3 ซึ่งแม้จะมากขึ้น แต่ก็จะไม่เกินแท่งเงินเดือนของพนักงาน (อัตราคูณ 1.3 คืออัตราที่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอื่นๆ ได้รับในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าเราจะได้ตามนี้)