วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คำถามที่ 3: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เริ่มต้นกระบวนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลตั้งแต่เมื่อใด

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ดำเนินการเรื่องการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับฯ มาตั้งแต่ปี .. 2543 โดยเริ่มดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ... และนำเข้าสู่กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาคมของมหาวิทยาลัยอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่กระบวนการยกร่างพระราชบัญญัติ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้รับทราบ และการเสนอความเห็นและปรับปรุง โดยมี รศ.ดร.โคทม อารียา เป็นประธานในการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งกระบวนการของการมีส่วนร่วมดังกล่าวเป็นการรับรู้ร่วมกันในการก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับฯ ตามรูปแบบวิธีการที่พิจารณาความเหมาะสมกับรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขตในอนาคต และได้ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงขั้นตอนนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ  แต่การปรับปรุงแก้ไขร่างพรบ.ดังกล่าวโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2548) ได้เปลี่ยนแปลงกรอบหลักคิดและเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับเดิมไปค่อนข้างมาก เช่นประเด็นการเป็นมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขต เป็นต้น

ต่อมาวันที่ 27 ตุลาคม 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาขอให้มหาวิทยาลัยนำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสภามหาวิทยาลัยมีมติเป็นประการใดแล้ว ขอให้แจ้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับทราบเพื่อจะได้นำร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณานำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป มหาวิทยาลัยจึงได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติ ฯ ต่อที่ประชุมคณบดีในคราวประชุมครั้งที่ 13/2549 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2549 เพื่อพิจารณาการยืนยันร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ .… (ร่าง พ...มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ) ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นเบื้องต้นว่า ในการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ยังมีความไม่ชัดเจนในการดำเนิน งานหลายประเด็น จนเป็นที่ห่วงใยของหลาย ฝ่าย จึงมีมติให้ชะลอการยืนยันร่างพระราชบัญญัติ ฯ ไว้ก่อน เมื่อมีความชัดเจนจะนำมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงยังคงค้างการพิจารณาในสภานิติบัญญัติฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น