วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คำถามที่ 1: จำเป็นหรือไม่ที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล

ที่มาของเรื่องนี้มาจากการที่รัฐบาลได้กำหนดเป็นนโยบายให้มหาวิทยาลัยของรัฐทั้งหมด 20 แห่ง ปรับเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐภายในปี พ.ศ. 2545 โดยวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยนตามที่ปรากฏในสมุดปกขาว ของทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักการและแนวปฏิบัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มี 2 ประเด็นคือ

1. เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของสถาบันอุดมศึกษาให้มีความเป็นอิสระ คล่องตัว มีประสิทธิภาพเพื่อ ความเป็นเลิศทางวิชาการจึงให้ปรับเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่เป็นส่วนราชการ และ

2. เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ที่ให้รัฐบาลไทยกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง และชดเชยการขาดดุลของงบประมาณรายจ่ายในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 กรอบนโยบายหนึ่งที่ทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้นต้องรับผิดชอบดำเนินการ คือ การพัฒนาให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ (Autonomous University) หรือมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐภายในปี พ.ศ. 2545


ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดลได้ออกไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับฯ กันมากขึ้น และการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในกำกับฯ มีความชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับการออกไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ฯ  มหาวิทยาลัยสามารถออกระเบียบในการดำเนินการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบการเงิน หรือการบริหารบุคคลต่างๆได้เอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เกิดความคล่องตัว และลดความซ้ำซ้อนลงได้ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในปัจจุบันเนื่องจากการจำกัดอัตรากำลังของภาครัฐ  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น