วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำถามที่ 60: หลังจากรับฟังความคิดเห็นจากประชาคม ม.อ.ครบทั้ง 5 วิทยาเขตในรอบแรกแล้ว จะมีการดำเนินการในขั้นตอนต่อไปอย่างไร

หลังจากรับฟังความคิดเห็นจากประชาคม ม.อ.ครบทั้ง 5 วิทยาเขตในรอบแรกแล้ว จะมีการดำเนินการต่อตามกรอบเวลาและกิจกรรม ดังนี้

1. คณะกรรมการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ รวมทั้งคณะกรรมการยกร่าง พ.ร.บ. จะได้นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้ในการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.3 เป็นร่าง พ.ร.บ.4 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2556

2. เผยแพร่ร่างพ.ร.บ.4 ให้ประชาคมรับทราบอย่างกว้างขวางผ่านช่องทางต่าง ๆ

3. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาคมทั้ง 5 วิทยาเขต ต่อ ร่าง พ.ร.บ. 4 ในช่วงเดือนธันวาคม 2556 -มกราคม 2557

4. นำำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้ในการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.4 เป็นร่าง พ.ร.บ.5

5. นำร่าง พ.ร.บ.5 พิจารณากลั่นกรองในที่ประชุมคณบดีในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 และนำเสนอต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยในวันที่ 1 มีนาคม 2557

คำถามที่ 59: ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย จะใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลใน ระบบ “การจ่ายตรง” ต่อได้หรือไม่

ข้าราชการที่มีสิทธิรับบำนาญ เมื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และเลือกรับ
บำนาญจะใช้สิทธิจากข้าราชการบำนาญ จึงใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลใน ระบบ “การจ่ายตรง” ต่อได้

คำถามที่ 58: เมื่อสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้วจะมีสถานะเป็นอย่างไร มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมบ้าง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะมีสถานภาพดังนี้
1. เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
2. เป็นหน่วยงานที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
3. เป็นหน่วยงานของรัฐที่ยังคงได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินตามพระราชบัญญัติ วิธีการงบประมาณที่จำเป็นต่อการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ได้อย่างเพียงพอ
4. เป็นหน่วยงานที่มีความคล่องตัว โดยมีสภามหาวิทยาลัยรับผิดชอบควบคุม กำกับทิศทางการดำเนินงาน และกำหนดระเบียบข้อบังคับในการบริหารจัดการในภารกิจต่าง ๆ ได้เองภายใต้ พ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำถามที่ 57: มหาวิทยาลัยมีนโยบายเรื่องหน่วยงานสนับสนุนของมหาวิทยาลัย เช่น วิทยาลัยชุมชน อย่างไร

คงจะมีการปรับองค์กรใหม่เพื่อให้กระชับขึ้น ซึ่งรูปแบบกำลังมีการศึกษาอยู่ โดยจะมีองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ และจะมีการประเมินที่เข้มข้นขึ้น อาจจะมีการยุบหน่วยงานเก่าตั้งหน่วยงานใหม่ตามความจาเป็น แต่จะไม่มีการให้บุคลากรออกเพราะการยุบเลิกหน่วยงาน ซึ่งการปรับเปลี่ยนยกเลิกหน่วยงานตาม พ.ร.บ. ที่ใช้ปัจจุบันก็เปิดโอกาสให้ทำได้ แต่จะมีขั้นตอนกระบวนการมาก

ปัจจุบัน วิทยาลัยชุมชนเป็นหน่วยบริการวิชาการ และ กำลังมีการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยขึ้นที่วิทยาเขตหาดใหญ่ แต่ในการทางานร่วมกันก็จะใช้หน่วยงานที่มีอยู่แล้วในวิทยาเขตต่าง ๆ เป็นเครือข่าย ร่วมทำหน้าที่บริการวิชาการเชิงรุก

คำถามที่ 56: ได้มีการประเมินสภาพคล่องทางการเงินของแต่ละวิทยาเขตหรือไม่ ว่าอยู่ในระดับใด

ปัจจุบัน แม้อยู่ในระบบราชการก็มีการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินอยู่แล้ว เนื่องจากมีข้อจำกัดของงบประมาณที่ได้รับ ทำให้เราต้องศึกษาว่าแต่ละวิทยาเขต มีการใช้จ่ายเงินเป็นเช่นไร จะมีการประหยัดงบประมาณได้อย่างไร จะดูแลอย่างไร ในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็ได้มีการพูดคุยกันเรื่องการจัดองค์กรที่เหมาะสม สาหรับสถานการณ์ปัจจุบัน

คำถามที่ 55: ข้าราชการเมื่อปรับเปลี่ยนระบบแล้ว จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างไร

ข้าราชการหากไม่ปรับเปลี่ยนสถานะ ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ใหม่ ยังคงอยู่ในกติกาของราชการ มีการประเมินตามระเบียบราชการ จะไม่มีสัญญาจ้างเนื่องจากเป็นการอยู่ทางานจนเกษียณอายุ แต่ถ้าปรับเปลี่ยนจะเข้าสู่ระบบการประเมินของพนักงานมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันก็ได้สิทธิ์ของข้าราชการบำนาญด้วย

คำถามที่ 54: ข้าราชการที่ปรับเปลี่ยนสถานะจะใช้ระบบแท่งเงินเดือนของพนักงานใช่หรือไม่

ใช่ เมื่อมีการปรับเปลี่ยน ผู้ที่เป็นพนักงานอยู่แล้วจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ผู้ที่ปรับเปลี่ยนจากข้าราชการเป็นพนักงานจะต้องมาใช้ระบบการขึ้นเงินเดือนของพนักงาน อย่างไรก็ตาม ในช่วงการปรับเปลี่ยน จะมีการคูณเงินเดือนด้วย 1.3 ซึ่งแม้จะมากขึ้น แต่ก็จะไม่เกินแท่งเงินเดือนของพนักงาน (อัตราคูณ 1.3 คืออัตราที่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอื่นๆ ได้รับในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าเราจะได้ตามนี้)

คำถามที่ 53: ตาม พ.ร.บ.ใหม่ รองอธิการบดีวิทยาเขตไม่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย อาจทำให้ปัญหาของแต่ละวิทยาเขตไม่ได้รับการสะท้อนสู่สภามหาวิทยาลัยหรือไม่

พ.ร.บ.ใหม่ถือว่า อธิการบดี คือ บุคคลที่มีอำนาจและความรับผิดชอบสูงสุดในองค์กร หรือ CEO ของมหาวิทยาลัย ส่วนรองอธิการบดีฝ่ายต่าง ๆ ได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยโดยข้อเสนอของอธิการบดี อย่างไรก็ตาม จะบันทึกประเด็นนี้ไว้พิจารณาต่อไป ในบางมหาวิทยาลัย มีอธิการบดีและรองอธิการบดี 1-2 คน เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยด้วย

ใน พ.ร.บ.ใหม่ไม่มีสภาวิชาการ เนื่องจากในขณะนี้มีสภาวิทยาเขตทำหน้าที่แทนสภาวิชาการ หากมีสภาวิชาการก็จะเป็นการย้อนเข้าสู่ระบบเดิม อย่างไรก็ตาม ใน พ.ร.บ.ปี 2522 ก็ไม่มีสภาวิชาการแต่อาศัยอำนาจสภามหาวิทยาลัยออกเป็นข้อบังคับ ซึ่งใน พ.ร.บ.ใหม่ก็ใช้แนวทางลักษณะนี้เช่นเดียวกัน

คำถามที่ 52: พ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหลายแห่งมีประเด็นเรื่อง ทุนการศึกษา การแถลงผลงานของสภามหาวิทยาลัย พ.ร.บ.ของม.อ.จะกำหนดไว้ด้วยหรือไม่

ในส่วนของการแถลงผลงานของสภามหาวิทยาลัย ของ ม.อ.ไม่ได้เขียนไว้ละเอียดมาก เพราะจะมีระบบการตรวจสอบและประเมินผลความสำเร็จในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย ซึ่งได้กำหนดไว้ในเกณฑ์การประเมินคุณภาพตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และการประเมินคุณภาพภายนอก ของสำนักงานรับรองมาตรฐานประประเมินคุณภาพ (สมศ.)

สำหรับเรื่องทุนการศึกษา และ การรับรองว่าผู้สอบเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ จะต้องได้รับการดูแลจนจบปริญญาตรี โดยไม่มีเหตุต้องให้ออกเนื่องจากไม่มีเงินจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษา จะแจ้งต่อคณะกรรมการร่างข้อบังคับรับไว้พิจารณา

ทั้งนี้ใน พ.ร.บ. ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีข้อความระบุว่า ให้มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญและ คำนึงถึงความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา อย่างไรก็ตาม การที่จะบอกว่านักศึกษายากจนในระดับใดจึงจะเข้าเกณฑ์การได้รับทุน จะต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง โดยปกติมหาวิทยาลัยและรัฐบาล ก็ได้มีการดูแล เช่นการให้ทุนการศึกษาอยู่แล้ว และตั้งแต่เปิดมหาวิทยาลัยมาไม่เคยปรากฏว่ามีผู้ต้องออกจากการศึกษาเนื่องจากไม่มีเงินจ่ายค่าเรียน อีกทั้งมหาวิทยาลัยและคณะได้มีการจัดสรรเงินรายได้ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นทุนการศึกษา

คำถามที่ 51: การปรับเปลี่ยน พ.ร.บ.ที่บังคับใช้ไปแล้วจะทำได้หรือไม่ และจะต้องมีขั้นตอนอย่างไร

พ.ร.บ. คือ กฎหมาย การแก้ไข พ.ร.บ. จะต้องมีกระบวนการที่ยาวนาน ต้องมีการแก้กฎหมาย ต้องมีการยกร่างใหม่เพื่อเสนอไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วเสนอสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่มีการแก้ไขบ่อย ดังนั้นการเขียน พ.ร.บ. จึงต้องเขียนเป็นภาพกว้าง ๆ เป็นการวางกรอบไว้ ส่วนรายละเอียดจะนามาเขียนเป็นข้อบังคับซึ่งจะแก้ไขโดยสภามหาวิทยาลัย ซึ่งจะง่ายกว่า

พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ใช้ทุกวันนี้คือ พ.ร.บ. ปี 2522 ซึ่งใช้มานานและยังไม่มีการเปลี่ยน แต่มีการดำเนินการตามกรอบที่วางไว้โดยการออกระเบียบ เช่น ระเบียบการเงิน พัสดุ ที่ออกโดยสภามหาวิทยาลัย

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำถามที่ 50: มีการเผยแพร่ร่าง พ.ร.บ. ในช่องทางใดบ้าง

มหาวิทยาลัยได้แจ้งบุคลากรทาง E-Mail และ เผยแพร่ผ่านช่องทางต่อไปนี้


1. Facebook สงขลานครินทร์กับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่ ้https://www.facebook.com/groups/502809166466344/ 


2. เว็บไซต์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่ http://www.psu.ac.th/th/psu-autonomy ซึ่งจะมีข้อมูลอื่น ๆ เช่น การสื่อสารจากอธิการบดี ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ.........(ฉบับล่าสุดคือ ร่าง 3) กิจกรรมรับฟังความคิดเห็นและข่าวสารประชาสัมพันธ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และ FAQ: คำตอบสำหรับคำถามที่มักถามบ่อย






คำถามที่ 49: ในมาตรา 26 กำหนดให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ แต่จะมีคณะกรรมการวินัยเพื่อ พิจารณาความผิดของผู้บริหารงานผิด หรืออกคําสั่งผิด เพื่อให้ผู้บริหารมีการระมัดระวังในการลงโทษพนักงานหรือไม่

จะกำหนดไว้ในข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ซึ่งออกโดยสภามหาวิทยาลัย โดยครอบคลุมเรื่อง
วินัย จรรยาบรรณ ของบุคลากรทุกคนอยู่แล้ว ผู้ทําผิดกติกาทั้งผู้บริหารและบุคลากรทั่วไปก็จะถูกลงโทษตามลักษณะของความผิด

ระบบใหม่ที่จะใช้ในอนาคต คือ ระบบสําหรับพนักงานมหาวิทยาลัยปัจจุบันและจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องการรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานมหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในระบบนี้มาแล้ว เพื่ อนําไปปรับเป็ นข้อบังคับใหม่


คำถามที่ 48: ข้าราชการที่ปรับเปลี่ยนสถานภาพ สามารถได้รับทั้งเงินบํานาญและเงินเดือนจากการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ใช่หรือไม่

สามารถได้รับเงินจากทั้งสองทาง

คำถามที่ 47: ค่ารักษาพยาบาลปัจจุบันอิงกรมบัญชีกลาง ต่อไปจะมีการกําหนดค่ารักษาพยาบาลเอง หรือไม

มหาวิทยาลัยยังรับการสนับสนุนจากรัฐซึ่งมาจากเงินภาษีประชาชน จึงไม่สามารถตั้งราคาค่ารักษาพยาบาลเหมือนภาคเอกชนได้ แม้ปัจจุบันหลายอย่างจะสามารถตั้งระบบของตนเองก็ตาม

คำถามที่ 46: จะมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการเงิน สินทรัพย์ ของมหาวิทยาลัยหรือไม่ เพื่อให้มีความมั่นคงทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ในร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัย กําหนดให้สามารถที จะตั้งหน่วยงานที่ดูแลจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
และให้เกิดรายได้มากขึ้น

คำถามที่ 45: พนักงานมหาวิทยาลัยเดิม เมื่อมหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบ จะมีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง เพราะใน พ.ร.บ.ของหลายมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้กล่าวถึงไว้

ความก้าวหน้าของพนักงานมหาวิทยาลัยจะมีการกำหนดไว้เป็นข้อบังคับ


คำถามที่ 44: ข้าราชการปรับเปลี่ยนเป็นพนักงานจะได้ตัวคูณเงินเดือน 1.3 เท่า แต่ที่ทราบมาคือ เมื่อข้าราชการปรับเปลี่ยนเป็นพนักงาน จะได้เงินเดือนเพิ่ม 1.5 เท่า แต่มหาวิทยาลัยจะนําไปใช้ในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ถามว่า ข้าราชการมี กบข.อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทําไมถึงไม่เป็ น 1.4-1.5 เท่า

ตัวคูณ 1.3 เท่า เป็นตัวเลขที่อิงมาจาก จุฬา และ มหิดล โดยมหาวิทยาลัยไม่ได้หักเงินส่วนอื่นไว้ เพราะข้าราชการยังคงได้รับผลประโยชน์อื่น ๆ อยู่แล้ว เช่น มีสิทธิและสวัสดิการของข้าราชการบํานาญหลังพ้นจากราชการ ส่วนพนักงานก็ได้สิทธิของการเป็ นพนักงานเหมือนอยู่ในระบบราชการแต่จะเป็ นบุคลากรกลุ่มหลักของหน่วยงาน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ นํามาหารือกันในช่วงนี้ยังไม่แน่นอน ยังเป็นตัวเลขที่อ้างอิงมหาวิทยาลัยที่ปรับเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ฯ แล้ง ในส่วนของ ม.อ. ต้องพิจารณาตัวเลขที่ ได้รับจริงอีกครั้ง


คำถามที่ 43: อยากให้ขยายความที่ว่าบริการนักศึกษาจะดีกว่าเดิม ในด้านใดบ้าง

ี เห็นได้ชัดคือการปรับการบริการ ลดขั้นตอนให้เป็ น one stop service ซึ่ งบางอย่างหากอยู่ในระบบราชการ
จะเปลี ยนยากเช่น ระบบการเงิน การลดขั้นตอนจะสามารถประหยัดเงินด้านบริหารจัดการ เพื่อมาให้บริการสิ่งอํานวยความสะดวกให้นักศึกษาได้ เช่น รถบริการ ทางเดิน ระบบหอพัก

คำถามที่ 42: ทําไมไม่มีตัวแทนรองอธิการบดีเป็นกรรมการสภา

เพราะมีอธิการบดีเป็นตัวแทนผู้บริหาiอยู่แล้ว และ ม.อ. มีรองอธิการบดีจํานวนมากเพราะมีหลาย
วิทยาเขต ตามโครงสร้างจะกําหนดให้กรรมการสภา ฯ มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยน้อย และจะมีรองอธิการบดี 1 คน เป็นเลขาที่ประชุมสภาฯ โดยไม่ได้เป็นกรรมการ

คำถามที่ 41: สามารถตั้งสหภาพได้หรือไม่

สามารถมีสภาอาจารย์ และสภาพนักงานได้ แต่ไม่สามารถตั้งสหภาพซึ่งรวมไปถึงการนัดหยุด
งานได้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานบริการประชาชน

คำถามที่ 40: พนักงานเงินรายได้ ทําไมไม่มีการระบุไว้ในร่าง พ.ร.บ.ใหม่ และลูกจ้างประจําจะเป็นเช่นไรหาก ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ

ใน พ.ร.บ. จะระบุถึงบุคลากรหรือพนักงานประจํา แต่พนักงานเงินรายได้ซึ่งเดิมคือลูกจ้างชั ่วคราวไม่ได้
สถานภาพถาวร เป็นระบบการจ้างชั่วคราวที่ หน่วยงาน หรือ องค์กรเป็ นผู้จัดระบบขึ้นมาเอง

ส่วนลูกจ้างประจําเดิมใช้ระเบียบกระทรวงการคลังในการบริหารเงินเดือน บริหารบุคคล ซึ่งต่างจาก
ข้าราชการที่ดูแลโดย กพอ. ลูกจ้างประจําสามารถปรับเปลี่ยนมาสู่ระบบใหม่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
ประเภทลูกจ้างประจํา แต่เงินเดือนใหม่จะไม่มีตัวคูณเหมือนข้าราชการ สิทธิประโยชน์จะเหมือนเดิม เช่นใน เรื่ องของการรักษาพยาบาล แต่ไม่มีสิทธิประโยชน์ตามระบบบํานาญ

คำถามที่ 39: เงินประจําตําแหน่งของข้าราชการเดิม เมื่อปรับเป็นพนักงานแล้วยังจะได้อย่หรือไม่

ยังคงได้รับเหมือนเดิม เพราะได้รับการปกป้องตามมาตรา 76 ให้ได้รับค่าจ้าง เงินเดือน และ ประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที เคยได้รับก่อนเข้าเป็ นพนักงานมหาวิทยาลัย

คำถามที่ 38: ข้าราชการที่เปลี่ยนเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยต้องเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือไม่

ไม่ต้อง เพราะมีกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กบข.อยู่แล้ว และจะต่ออายุ กบข.ได้ แต่ต้องมา
คํานวณใหม่โดยไม่ได้คิดจากเงินเดือนที่มีการปรับเปลี ยน แต่จะเอาเงินเดือนเดิมเป็นตัวตั้งบวกด้วย 6
เปอร์เซ็นต์

คำถามที่ 37: ผู้บริหารต้องแถลงนโยบายหรือไม่ และ ต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายจากการบริหารเพียงใด

ในร่างพ.ร.บ.ระบุไว้ว่าผู้บริหารต้องได้รับการประเมิน ตั้งแต่ระดับอธิการบดีลงไป ซึ่ งรายละเอียดจะอยู่
ในข้อบังคับ และมหาวิทยาลัยสามารถจะกำหนดวิธีการและรูปแบบการประเมินของตนเองได้ นอกจากนั้นอธิการบดีและสภามหาวิทยาลัยจะต้องมีความรับผิดชอบกับนโยบายและผลการดำเนินงาน หากทําให้เกิดความเสียหายกับมหาวิทยาลัย

นอกจากนั้น ในมาตรา 26 ในร่าง พ.ร.บ.ใหม่ระบุให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์ร้องทุกข์ มีอํานาจหน้าที
พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัย พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั งที ผู้อุทธรณ์ถูกสั งให้ออกจากงาน พิจารณาเรื่ องร้องทุกข์ที่ผู้ร้องทุกข์เห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อํานาจหน้าที ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันจะมีการปฏิบัติตามนี้แม้จะไม่มีกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ปัจจุบัน


คำถามที่ 36: การไม่เป็นส่วนราชการยังคงสามารถรับเงินอุดหนุนจากหน่วยราชการอื่น เช่น จากจังหวัด ได้หรือไม่

ยังรับได้โดยเงินที่ เข้ามาจะจัดเป็นประเภทเงินรายได้มหาวิทยาลัยซึ่งจะมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการคล่องตัวมากขึ้น

คำถามที่ 35: พ.ร.บ.ใหม่จะเอื้อให้การบริหารงานวิทยาเขตต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

พ.ร.บ. ที่ร่างไว้ในปี พ.ศ. 2542 ยกร่างจากแนวคิดของความเป็นมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขต มีการแยก
งบประมาณวิทยาเขตเป็นวิทยาเขตละฉบับ มีสภาวิทยาเขตซึ่งใช้แนวทางจากมหาวิทยาลัยในอเมริกา ซึ่งสํานักงานกฤษฎีกาไม่เห็นชอบและได้ยกร่างฉบับใหม่กลับมาให้ ซึ่ งเหมือนกับของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ. ใหม่จึงมีการระบุเรื่ องการบริหารแบบหลายวิทยาเขตไว้ในข้อบังคับ โดยได้มีการวางโครงสร้างไว้แล้วว่าให้มีสํานักงานวิทยาเขต และปัจจุบันกําลังทดลองให้แต่ละวิทยาเขตมีสภาวิทยาเขต ทำหน้าที่ชี้แนะและร่วมกำหนดทิศทางวิชาการของวิทยาเขต ซึ่งเป็ นระบบที่ ยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดทํามาก่อน

คำถามที่ 34: ผู้ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยอยู่แล้วเมื่อเข้าสู่ระบบใหม่จะเป็นอย่างไร

ระบบของพนักงานมหาวิทยาลัยจะเป็นตัวหลักของระบบใหม่อยู่แล้ว แต่กําลังมีการสํารวจถึงข้อควร
ปรับปรุงที่อาจมีอยู่ เพื่อประกอบการยกร่าง พ.ร.บ. ใหม่ เพื่อใช้ร่วมกันระหว่างข้าราชการที่ แปรสภาพเป็น
พนักงานมหาวิทยาลัย กับพนักงานมหาวิทยาลัยเดิม ในปี 2557 ข้าราชการและพนักงานจะมีจํานวนเท่ากันแต่เมื่ อเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับ ฯ กระแสหลักในระเบียบบริหารงานบุคคลจะเป็นพนักงาน ซึ่งมีจํานวนมากกว่าในการร่าง พ.ร.บ. และการออกข้อบังคับ ได้มีการพูดคุยกับมหาวิทยาลัยที ปรับเปลี่ ยนสถานะเพื่อนําส่วนดีของ พ.ร.บ. ของเขามาใช้ บางมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการปรับเปลี ยนมาแล้ว 5 ปี โดยไม่มีการขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษา และยังคงได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เช่นเดิมไม่มีปัญหาเรื่องการดูแลและให้เงินชดเชยต่าง ๆ

คำถามที่ 33: มหาวิทยาลัยมีแนวโน้มจะขับเคลื่อนตําแหน่งวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างไร

เรื่ องการกําหนดเกณฑ์มาตรฐานภาระงานของตําแหน่งวิชาการ เราสามารถกําหนดเองได้โดยขั้นตํ่ า
จะไม่น้อยกว่าของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ประกาศใช้ ส่วนการเข้าสู่เส้นทางอาชีพนั้น ที่ประชุม คบม. ได้มีการกําหนดระยะเวลาในการเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการไว้แล้ว เช่น ผู้ที่จบปริญญาเอกต้องเข้าสู่ตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ภายใน 4 ปี เป็นต้น

คำถามที่ 32: ทำไมร่าง พ.ร.บ.หมวด 6 ไม่มีการใส่ตําแหน่งวิชาการของสายสนับสนุนไว้

ในหมวด 6 ของ พ.ร.บ.จะระบุไว้เฉพาะตําแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ส่วนตําแหน่งวิชาการของ
สายสนับสนุนจะกำหนดเป็นข้อบังคับ ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมากที่จะยกร่างไว้ในข้อบังคับซึ่ งออกโดยสภามหาวิทยาลัย และกําลังมีการยกร่างประเด็นที่เกี่ยวกับการดูแลนักศึกษา ทุนการศึกษา โดยจะทยอยออกมาคู่ขนานกับ พ.ร.บ.แต่ละมาตราตามความจําเป็ น โดยมีการให้เวลาในการออกข้อบังคับเป็นระยะเวลา 3 ปี ในการทําประชาพิจารณ์ในรอบต่อไปจะได้เห็นชัดเจนขึ้นในหลายเรืื่อง

คำถามที่ 31: การเพิ่มเงินเดือน 1.3 เท่าจะเป็นการเพิ่มในอัตราส่วนที่เท่ากันทั้งสายวิชาการ และ สายสนับสนุน ใช่หรือไม่ เพราะอัตราจ้างพนักงานในปัจจุบัน จะเป็น 1.3 และ 1.5 เท่า

เงินที่ได้เพิ่ ม 1.3 เท่าของการเปลี่ ยนจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย เป็นเงินเฉพาะกิจที่ใช้
ในช่วงการเปลี ยนผ่าน เป็นค่าเฉลี่ยที่กำหนดจากฐานเงินเดือนเดิมแล้วคูณด้วย 1.3 เหมือนกันทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ซึ่งเป็นการเพิ่ มที่มากที่สุดที ่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้มีการต่อรองแล้ว แต่ไม่ใช่อัตราที่ใช้ในระบบบรรจุเข้าทํางาน เพราะผู้ที่บรรจุเข้าทํางานในระบบใหม่จะมีระบบค่าตอบแทนอีกแบบหนึ่ง

คำถามที่ 30: หากการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสิ่งที่ดี ทําไมมหาวิทยาลัยเพิ่งจะดำเนินการเรื่องนี้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ดําเนินการเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543
ได้ยกร่าง พ.ร.บ. และจัดทําประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.โคทม อารียา
มาร่วมเป็ นกรรมการ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.นี้จะต่างจากของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เนื องจากกำหนดให้ทุกวิทยาเขตเป็นนิติบุคคล จึงถูกพิจารณาเป็นพิเศษจากคณะกรรมการกฤษฎีกาทําให้ล่าช้า จนมีการยุบสภา หลังจากนั้นหลายมหาวิทยาลัยเริ่ มมีการดําเนินการปรับสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับ ฯ อีกครั้ง แต่บางมหาวิทยาลัยงยังชะลอไว้เนื่ องจากยังขาดความชัดเจนจากภาครัฐ ในเรื่ องของงบประมาณสนับสนุน การบริหารงานบุคคล และ เงินเดือน

ต่อมามีความชัดเจนมากขึ้น ทําให้มหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ หลายแห่งทยอยปรับสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับ ล่าสุด ร่าง พ.ร.บ. ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กําลังเข้าสู่การพิจารณาและคาดว่าจะมีการประกาศใช้อีกไม่นาน เมื่ อถึงเวลานั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในบรรดามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่งที่ยังคงเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ การเหลือเพียงมหาวิทยาลัยเดียวจะทําให้ขาดนํ้าหนักในการต่อรองในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องการใช้งบประมาณ เพื่อความคล่องตัวในการทําวิจัย และ วันนี้ปรากฏภาพชัดเจนในเรื่ องการสนับสนุนงบประมาณ สิทธิของบุคลากร และการมีอํานาจต่อรองในเรื่องต่าง ๆ ความกังวลในหลายประเด็น เช่น การขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษาที่เกรงว่า กลัวว่าจะเหมือนมหาวิทยาลัยเอกชนจึงหมดไป

คำถามที่ 29: การประเมินส่วนงานจะทําในมิติด้านใดบ้าง

ทุกส่วนงานต้องมีการประเมิน แต่รายละเอียดของการประเมินจะมีการออกเป็นข้อบังคับ โดยทั่วไป
มหาวิทยาลัยต้องได้รับการประเมินตามกฎระเบียบของ สกอ.อยู่แล้ว แต่ทีระบุไว้ในมาตรา 48 ว่า มหาวิทยาลัยต้องจัดให้มีการประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัย นั้น จะมีการประเมินที่มากกว่าที่ถูกกําหนดโดย สกอ. เช่น อาจมีการประเมินเรื่องการคุ้มค่า และ ระบบบริหารจัดการ เพื่อประกอบการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยเรื่องการคุ้มค่าของการมีหน่วยงานนั้น ๆ การมีระบบประเมินที่เข้มข้นขึ้นเพราะเราต้องดูแลตัวเองมากขึ้ น

คำถามที่ 28: มีการระบุพนักงานเงินรายได้ไว้ในร่าง พ.ร.บ.นี้หรือไม่ อย่างไร

พ.ร.บ.นี้จะการระบุถึงบุคลากรหรือพนักงานประจํา ส่วน พนักงานเงินรายได้หรือเดิมคือลูกจ้างชั่วคราว ยังมีการจ้างอยู่ และหากทํางานมีประสิทธิภาพจะได้รับการสนับสนุนให้ได้เป็ นพนักงานประจําแต่ไม่มีการพูดถึงในร่าง พ.ร.บ. ซึ่ง พ.ร.บ. เก่าก็เป็นไปในลักษณะนี้

คำถามที่ 27: ปัจจุบันในบางวิทยาเขต มีข้อบังคับของวิทยาเขตโดยเฉพาะ โดยมีการบริหารงานบางเรื่องจะแตกต่างออกไป เช่น วาระการดํารงตําแหน่งของผู้บริหาร และโครงสร้างการบริหาร ถ้า พ.ร.บ. นี้มีการบังคับใช้ ข้อบังคับเดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงหรือไม่

ระเบียบบริหารวิทยาเขตต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่เพื่อให้สอดรับกับ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ แต่ในบางเรื่อง
จะนําไปกำหนดไว้ในข้อบังคับเพื่อความยืดหยุ่นและ คล่องตัว เช่น องค์ประกอบ หลักเกณฑ์การสรรหา
กรรมการวิทยาเขต เป็ นต้น เนื่องจากแต่ละวิทยาเขตจะมีบริบทแตกต่างกัน

คำถามที่ 26: มหาวิทยาลัยจะมีการทบทวนเรื่องกองทุนประกันสังคมหรือไม่ อย่างไร เพราะผ่านมาไม่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายประกันสังคมเลย ควรเขียนให้ชัดไปว่า “กิจกรรมมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และ กฎหมายประกันสังคม” เพราะมองว่ามหาวิทยาลัยจัดสวัสดิการให้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว หากนําเงินส่วนนี้มาจัดการเองจะดีกว่าหรือไม่

ในร่าง 3 ของ พ.ร.บ. ไม่ได้ระบุถึงการประกันสังคม หมายความว่าเราจะเข้าระบบประกันสังคมหรือไม่ก็ได้ พ.ร.บ. หลายมหาวิทยาลัยกำหนดเรื่องนี้ ไม่เหมือนกัน แต่ขณะนี รัฐบาลกําลังทําประชาพิจารณ์ พ.ร.บ. ว่าด้วยบุคลากรในสถาบันการศึกษา ซึ่งระบุว่า “พนักงานมหาวิทยาลัยไม่ขึ้นอยู่กับประกันสังคม แต่
หน่วยงานต้องจัดสวัสดิการให้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประกันสังคม”

การให้พนักงานทําประกันสังคมในปัจจุบันเป็ นการสร้างกฎหมายมารองรับสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการของพนักงาน ซึ่งบางท่านอาจไม่ได้ใช้ประโยชน์ ปัจจุบันประกันสังคมก็สามารถมีบําเหน็จบํานาญได้ ถึงแม้จะไม่มากก็ตาม สำหรับประเด็นการไม่เข้ารวมในกฎหมายประกันสังคมนี้ มหาวิทยาลัยรับไปพิจารณาในกรรมการร่าง พ.ร.บ. ต่อไป

คำถามที่ 25: อำนาจการบริหารของมหาวิทยาลัยจะมากขึ้นและเป็นระบบทุนนิยมมากขึ้นเมื่อมีการปรับสถานะ จะส่งผลต่อความเป็นธรรมในการประเมินบุคลากรหรือไม่

การบริหารงานบุคคลทั้งในปัจจุบันและอนาคตมีระบบการตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล ปัจจุบันก็มีกรรมการดูแลในด้านนี้ด้านนี้ เช่น กรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งมีอยู่หลายชุด กรรมการอุทธรณ์ร้องทุกข์  ซึ่งกรรมการอุทธรณ์ร้องทุกข์ในปัจจุบันนี้ต้องดูแลทั้ งข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง แต่งตั้งโดยสภามหาวิทยาลัย ไม่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ไม่ได้เกิดขึ้ นตามกฎหมาย จึงได้มีการกำหนดประเด็นนี้ไว้ใน พ.ร.บ.ให้ชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่บุคลากร ส่วนการบริหารการเงินไม่ได้เกี่ยวข้องกับแนวคิดทุนนิยม มหาวิทยาลัยจะสร้างระบบการบริหารจัดการที่คล่องตัว เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อนำไปใช้ในสิ่งที่ประโยชน์ให้มากที่สุด

คำถามที่ 24: การเป็นมหาวิทยาลัยอาจต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จะเกิดการเลิกจ้างพนักงานอันเนื่องมาจากการรับนักศึกษาที่ไม่ได้จำนวนตามแผนหรือไม่

สํานักงบประมาณจะจัดสรรงบสําหรับทั้งพนักงานมหาวิทยาลัย และ ข้าราชการที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย โดยมีตัวอย่างให้เห็นจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ได้ปรับสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับแล้ว

คำถามที่ 23: พนักงานมหาวิทยาลัยจะได้รับผลกระทบอย่างไร เมื่อมีการปรับเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

พนักงานมหาวิทยาลัยอยู่ยังคงสภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย แต่จะมีข้อดีตรงที่ว่าจะมีระเบียบด้านการบริหารงานบุคคลที่เอื้อต่อพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยมี 2 ระบบที่ขนานกันอยู่ ซึ่งเมื่อมีกฎระเบียบอะไรก็ออกก็เอาระเบียบของข้าราชการมาใช้กับพนักงานมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งในอนาคตไม่ต้องนำระเบียบข้าราชการมาใช้แล้ว แต่ต้องมาคิดกันว่าอยากจะให้การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร ก็กำหนดขึ้นในบริบทของตนเอง

คำถามที่ 22: การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐส่งผลกระทบกับบุคลากรที่เป็นข้าราชการอย่างไร

ผลกระทบต่อบุคลากรที่เป็นข้าราชการ เมื่อมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานในกำกับฯ  ข้าราชการมีสิทธิ์เลือกที่จะคงสถานะของตนเองจนเกษียณก็ได้ หรือจะเปลี่ยนสถานะเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยก็ได้ แต่อาจมีเงื่อนไข เช่น หากปรับเปลี่ยนสถานะภายใน 1 ปี ก็อาจจะไม่มีการประเมินจากการเปลี่ยนสถานะ แต่หากเลย 3 ปีไปแล้ว ก็อาจจะมีการประเมินหากจะมีการปรับเปลี่ยนสถานะ แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารจะมีกำหนดในบทเฉพาะกาลว่า จะต้องเปลี่ยนเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยภายในกี่ปี ซึ่งจะมีการกำหนดใน พ.ร.บ. (ขณะนี้เป็นร่าง) แต่อธิการบดีและรองอธิการบดีจะต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยภายใน 30 วัน ส่วนคณบดีจะมีการเปลี่ยนสถานะเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยภายใน 120 วัน

คำถามที่ 21: การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อขึ้นค่าเล่าเรียนใช่หรือไม่

การปรับค่าธรรมเนียมของมหาวิทยาลัยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือไม่ แต่มหาวิทยาลัยมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับอยู่แล้วตามอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งอยู่ที่ 3% ซึ่งไม่ได้ปรับทุกปี ในอดีตที่ผ่านมา ในสถานะการเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็ยังมีความจำเป็นที่ต้องขึ้นค่าเล่าเรียนอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ใช้ค่าเล่าเรียนตามประกาศปี 2550 ก่อนหน้านั้นมีค่าเล่าเรียนไว้อีกค่าหนึ่ง และในปี 2557 มหาวิทยาลัยก็มีความจำเป็นที่ต้องปรับค่าเล่าเรียนอีก ส่วนวิทยาเขตปัตตานีมีการปรับค่าธรรมเนียมตั้งแต่ปี 2556-58 ขณะที่วิทยาเขตอื่นนั้นจะปรับไปจนถึงปี 2559 ดังนั้น การปรับค่าธรรมเนียมไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ