วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำถามที่ 30: หากการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสิ่งที่ดี ทําไมมหาวิทยาลัยเพิ่งจะดำเนินการเรื่องนี้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ดําเนินการเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543
ได้ยกร่าง พ.ร.บ. และจัดทําประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.โคทม อารียา
มาร่วมเป็ นกรรมการ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.นี้จะต่างจากของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เนื องจากกำหนดให้ทุกวิทยาเขตเป็นนิติบุคคล จึงถูกพิจารณาเป็นพิเศษจากคณะกรรมการกฤษฎีกาทําให้ล่าช้า จนมีการยุบสภา หลังจากนั้นหลายมหาวิทยาลัยเริ่ มมีการดําเนินการปรับสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับ ฯ อีกครั้ง แต่บางมหาวิทยาลัยงยังชะลอไว้เนื่ องจากยังขาดความชัดเจนจากภาครัฐ ในเรื่ องของงบประมาณสนับสนุน การบริหารงานบุคคล และ เงินเดือน

ต่อมามีความชัดเจนมากขึ้น ทําให้มหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ หลายแห่งทยอยปรับสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับ ล่าสุด ร่าง พ.ร.บ. ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กําลังเข้าสู่การพิจารณาและคาดว่าจะมีการประกาศใช้อีกไม่นาน เมื่ อถึงเวลานั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในบรรดามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่งที่ยังคงเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ การเหลือเพียงมหาวิทยาลัยเดียวจะทําให้ขาดนํ้าหนักในการต่อรองในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องการใช้งบประมาณ เพื่อความคล่องตัวในการทําวิจัย และ วันนี้ปรากฏภาพชัดเจนในเรื่ องการสนับสนุนงบประมาณ สิทธิของบุคลากร และการมีอํานาจต่อรองในเรื่องต่าง ๆ ความกังวลในหลายประเด็น เช่น การขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษาที่เกรงว่า กลัวว่าจะเหมือนมหาวิทยาลัยเอกชนจึงหมดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น